ปลวกและสัตว์พาหะ
ปลวก
ปลวก (Termite) แมลงตัวน้อยแต่มีฤทธิ์ร้ายแรง รังปลวกที่สร้างขึ้นนั้นจะอยู่อย่างมิดชิด ยากแก่การค้นหา บางครั้งท่านจะเห็นปลวกบิน (แมลงเม่า) ปลวกเหล่านั้นจะเป็นปลวกชนิดสืบพันธุ์โดยบินออกหาคู่เพื่อสร้างอาณาจักรใหม่ อาหารของปลวกไม่ใช่มีเพียงแค่ไม้เท่านั้น ยังรวมถึงเสื้อผ้า หนังสือ และของทุกๆอย่างที่ประกอบไปด้วยเซลล์ลูโลส (Cellulose) ปลวกชอบอาศัยในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง และสามารถทนต่อสถานที่ที่ความกดอากาศต่ำ ปลวกจึงชอบอาศัยอยู่ใต้พื้นดินหรือตามพื้นอาคารของตัวบ้าน โดยทำการสร้างทางเดินไปตามรอยแตก รอยแยกของบ้าน
ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบ้านถึงกล่าวว่า ไม่ว่าอาคารชนิดใดๆ จะใหม่หรือเก่า ปลวกก็สามารถทำทางเดินตามรอยแยกของคอนกรีต ผนัง รอยต่อของอิฐ หรือแม้แต่ท่อน้ำทิ้งของพื้นชั้นล่างของอาคารได้ ฉะนั้นควรหามาตรการป้องกันและกำจัดปลวกของบ้านท่านเสียก่อนดีกว่าปล่อยให้ปลวกเข้าไปทำความเสียหายให้กับบ้านท่าน มิฉะนั้นจะต้องเสียเงินซ่อมแซมเป็นจำนวนมากกว่าค่าใช้จ่ายสำหรับบริการป้องกันและกำจัดปลวกเสียอีก ดังนั้นเราควรให้ช่างผู้ชำนาญ
การด้านการกำจัดแมลงสร้างมาตรการป้องกันสำหรับบ้านที่เพิ่งปลูก รวมถึงบ้านที่ปลูกสร้างเสร็จแล้วด้วย
มด
มดเป็นแมลงสังคมที่อยู่ในวงศ์ Formicidae จัดเป็นแมลงสังคมแท่จรองที่ขนาดรังมีจำนวนประชากรมาก การสร้างรังทำอย่างประณีต มีการติดต่อสื่อสารและการแบ่งชั้นวรรณะแยกออกจากกันให้เห็นชัดเจนทั้งรูปร่าง ลักษณะและหน้าที่ มดมีบทบาทต่อคนในหลายลักษณะทั้งที่เป็นแมลงทำลายศัตรูพืชผลทางการเกษตร ในแปลงปลูกและในโรงเก็บ เข้ามาก่อความรำคาญและก่อความเสียหายในบ้านเรือน โดยมีส่วนแบ่งในอาหารและที่อยู่อาศัยกับคน มดบางชนิดสามารถกักหรือต่อยด้วยเหล็กใน ทำให้เกิดคามเจ็บปวด เกิดอาการแพ้หรือเกิดแผลการติดเชื้อซ้ำ จากสาเหตุนี้ มดจึงจัดเป็นแมลงศัตรูและมีความสำคัญทางการแพทย์
รูปร่างทั่วไปของมด
ลำตัวแบ่งออกเป็น 3 ส่วน : หัว / อก / ท้อง
มีหนวด 1 คู่ : หนวดหักแบบข้อศอก (genlculate) / มีขา 3 คู่
ปากเป็นแบบกัดกิน มีฟันเรียกว่า mandlble
ท้องปล้องที่ 2,3 มีลักษณะเป็นก้านเรียกว่า pedlcel
วงจรชีวิตของมด
มดเป็นแมลงที่มีการเจริญเติบโตแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์ (Complete Metamorphosis) ในวงจรชีวิตประกอบด้วย 4 ระยะ คือ จากไข่เป็นตัวอ่อน จากตัวอ่อน เป็นดักแด้ และจากดักแด้เป็นตัวเต็มวัย
แบ่งเป็นวรรณะต่างๆดังนี้
มดแม่รังหรือมดราชินี มีขนาดใหญ่กว่ามดตัวอื่น ที่อยู่ในรัง มีปีก อกหนา ท้องใหญ่ และมักมีตาเดี่ยว สามารถสืบพันธุ์ได้ ทำหน้าที่ สร้างรังและวางไข่ ตลอดจนควบคุมกิจกรมต่างๆ ภายในรัง
มดเพศผู้ โดยทั่วไปจะมีปีก ส่วนอกหนาแต่ไม่เท่าของมดแม่รัง ทำหน้าที่ สืบพันธุ์
มดงาน เป็นมดเพศเมียที่เป็นหมัน ไม่มีปีก เป็นมดที่ออกหาอาหารและพบอยู่เสมอภายนอกรัง นอกจากหาอาหารแล้วยังมีหน้าที่ในการสร้างรัง รักษารัง ดูแลตัวอ่อน ราชินี อีกทั้งยังป้องกันรังด้วย
ชนิดมดที่สำคัญ
1.มดละเอียด (Monomorium indicum)
ลักษณะสำคัญ มีสีแดงสนิมปนสีน้ำตาลเข้ม ส่วนท้องใส หนวดมี 12 ปล้อง อกยาวแคบเห็น ชัดเจน มี 2 ปุ่ม รูปไข่
ลักษณะทางชีววิทยา ทำรังในดิน พบตามบ้านที่อยู่อาศัย ชอบกินของหวาน เมื่อมากินอาหารแล้วจะปล่อยสิ่งขับถ่ายทำให้อาหารมีรสชาติเปลี่ยนไป เคลื่อนไหวรวดเร็ว มักเห็นเดินบน กำแพงหรือฝาห้องมากกว่าบนพื้น
2.มดละเอียด (Monomorium pharaonis)
ลักษณะสำคัญ มีสีเหลืองจนถึงสีน้ำตาลอ่อนหรือสีแดงสว่างใส ท้องมีสีเข้มเกือบดำ
ลักษณะทางชีววิทยา ชอบทำรังอยู่ใกล้แหล่งอาหาร เช่น ช่องว่างตามกำแพงบ้าน รังมีขนาดต่างๆกันตั้งแต่ ขนาดเล็กจนถึงมีประชากรเป็นพันๆ ตัว และสามารถแตกเป็นรังย่อย จากรังใหญ่ได้ โดยจะกระจายไป ตามบ้าน ที่อยู่อาศัย ทำให้ควบคุมได้ยาก
3.มดละเอียดหรือมดเหม็น (Tapinoma melanocephalum)
ลักษณะสำคัญ หัวและอกสีดำ ท้องสีน้ำตาลอ่อน
ลักษณะทางชีววิทยา ทำรังบนดินร่วน บริเวณโคนต้นไม้ เช่น ต้นไผ่ ชอบซ่อนตัวตามกาบใบที่มีความชุ่มชื้น เมื่อเข้ามาหาอาหารใน บ้านเรือนจะขับถ่ายมูลทำให้เกิดการปนเปื้อนในอาหารและมีกลิ่นเหม็น
4.มดดำ (Paratrechina longicornis)
ลักษณะสำคัญ มีสีน้ำตาลเข้มบางส่วนสีดำ ขนสีน้ำตาลเหลืองปกคลุมอยู่ทั่วไป
ลักษณะทางชีววิทยา พบเห็นทั่วไปทั้งในที่อยู่อาศัยและภายนอกบ้าน มดงานออกหากินไกลออกไปจากรัง ดังนั้น จึงยากที่จะควบคุมมดชนิดนี้ทั้งรัง เป็นมดที่เคลื่อนที่ได้เร็วมากโดยไม่ติดตามฟีโรโมนของมดตัวอื่นๆ พบแพร่กระจายอยู่ทั่วโลกบางครั้งอาจจะพบเห็นมดชนิดนี้ขนย้ายไข่ มดชนิดนี้จะไม่ทำอันตรายคน แม้ถูกรบกวน มดดำเป็นมดที่ทำให้เกิดความรำคาญมากกว่าอันตราย
วิธีการควบคุมมด
1.การควบคุมโดยใช้สารเคมี ชนิดสเปรย์ เหยื่อพิษ
2.การควบคุมโดยการปรับสภาพแวดล้อมไม่ให้มีแหล่งอาหารอยู่ในบ้านเรือนหรือบริเวณรอบบ้าน หมั่นสอดส่องดูแลภายในบ้านเรือนไม่ให้มีที่ที่เหมาะสมสำหรับมดมาทำรัง ไม่ควรปลูกต้นไม้ที่มีน้ำหวานไว้ใกล้บ้าน
3.การควบคุมโดยวิธีกล โดยการใช้มือบี้หรือทำลาย ใช้ไม้กวาดกวาดทิ้งหรือการทำลายรังโดยวิธีต่างๆ เช่น ใช้ไฟเผา ตัดรังทิ้งในกรณีที่รังอยู่บนต้นไม้ เป็นต้น
*กุญแจที่สำคัญในการควบคุมมด คือการหารังมดให้พบ โดยจะต้องทราบชนิดของมดนั้นก่อน
หนู
หนูเป็นสัตว์เลือดอุ่นขนาดเล็ก เป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม มีวงจรชีวิตประมาณ 3-4 เดือน โดยเฉลี่ยมีลำตัวยาวประมาณ 35-45 เซนติเมตร มีฟันแหลมคม 2 คู่ ซึ่งฟันของหนูจะมีการงอกตลอดเวลา ทำให้หนูต้องใช้ฟันกัดแทะอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน หนูมีการผสมพันธุ์และแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว หนูสามารถแพร่พันธุ์ได้เมื่ออายุประมาณ 3-4 เดือน (วงจรชีวิตอยู่ได้ 6-13 เดือน)
เมื่อแรกเกิดหนูไม่สามารถช่วยเหลือตัวของมันเองได้จำเป็นต้องให้แม่เป็นผู้ช่วยจนกระทั่งเป็นเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ หนูจะเบิกตาหรือลืมตาได้เมื่ออายุประมาณ 12-14 วัน สามารถผสมพันธุ์ได้ใหม่อีกครั้งเมื่อคลอดตัวอ่อนออกมาได้ภายใน 48 ชั่วโมง ออกลูกได้ปีละ 10-12 ครอก และแต่ละครอกมี 7-8 ตัว และเมื่อคลอดลูกเสร็จสามารถผสมพันธุ์ได้ทันที หนูสามารถคลอดลูกได้ตลอดปี อายุของหนูมีความยืนยาวแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของหนู
แมลงสาบ
แมลงสาบ มีการเจริญเติบโตเป็นแบบไม่สมบูรณ์ (incomplete metamorphosis) ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปร่างและขนาด วงจรชีวิตประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ไข่ (egg) ตัวอ่อนหรือตัวกลางวัย (nymph) และตัวเต็มวัย (adult) ตัวอ่อนมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยโดยตัวอ่อนระยะแรกที่ออกจากไข่จะยังไม่มีปีก เมื่อผ่านการลอกคราบ 2–3 ครั้ง จะเริ่มมีปีกและอวัยวะสืบพันธุ์ค่อย ๆ เจริญเติบโตขึ้นจนเป็นตัวเต็มวัยที่มีปีกเจริญเต็มที่และอวัยวะสืบพันธุ์สมบูรณ์ ไข่ของแมลงสาบมีปลอกหุ้ม เรียกว่า ฝักไข่ (ootheca) ลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว ส่วนมากมีสีน้ำตาลแดงจำนวนของไข่แต่ละฝักจะแตกต่างกันในแต่ละชนิด โดยทั่วไปจะมีประมาณฝักละ 16-30 ฟอง แมลงสาบสามารถวางไข่ได้หลายชุด บางชนิดอาจจะวางเพียง 4-8 ชุด แต่บางชนิดอาจวางไข่ได้มากถึง 90 ชุด บางชนิดจะนำฝักไข่ติดตัวไปด้วยจนไข่ใกล้จะฟักจึงจะปล่อยออกจากลำตัว ลักษณะการวางไข่ของแต่ละชนิดแตกต่างกัน ส่วนใหญ่ชอบวางไข่ในตู้ทึบ ลิ้นชัก หรือกล่องกระดาษ เป็นต้น นอกจากนี้ อาจวางไข่อยู่ตามซอกหรือมุมห้อง
บางครั้งอาจจะวางไข่ติดกับฝาผนังหรือเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ได้ ไข่ของแมลงสาบจะฟักภายในระยะเวลา 1–3 เดือนตัวอ่อนของแมลงสาบที่ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ มีสีขาวและไม่มีปีก เมื่ออายุได้ 3–4 สัปดาห์ จะมีการลอกคราบเกิดขึ้น การลอกคราบนี้เกิดขึ้นหลายครั้งจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย จำนวนครั้งในการลอกคราบของตัวอ่อนและระยะเวลาที่ใช้ในการเจริญเติบโตจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัยแตกต่างกันตามแต่ละชนิดของแมลงสาบแมลงสาบตัวเต็มวัยมีลำตัวแบนรี รูปไข่ ความยาวของลำตัวตั้งแต่ 1–8 เซนติเมตร มีสีต่าง ๆ กันตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนจนถึงดำ บางชนิดอาจมีสีอื่นที่ค่อนข้างแปลกตา เช่น สีส้มหรือสีเขียว โดยทั่วไปแมลงสาบตัวเมียจะอ้วนกว่าตัวผู้ หัวมีลักษณะคล้ายผลชมพู่ คือ ด้านบนป้านส่วนด้านล่างเรียวลง สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ส่วนหัวจะติดกับส่วนอกโดยมีส่วนคอเล็ก ๆ เชื่อมอยู่ แมลงสาบอาจมีปีกหรือไม่มีปีกก็ได้ ปกติพวกที่มีปีกเจริญดี จะมีปีก 2 คู่ ปีกคู่แรกจะแข็งกว่าปีกคู่หลัง ทั้งนี้ ปีกคู่หลังมีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ ซ้อนทับอยู่ใต้ปีกคู่แรก ปีกของแมลงสาบจะปกคลุมลำตัวด้านบนไว้เกือบทั้งหมดและบางชนิดอาจมีปีกที่กุดสั้นก็ได้แม้ว่าแมลงสาบจะสามารถบินได้ก็ตามแต่โดยทั่วไปแล้วมักเดินหรือวิ่งมากกว่า จะบินกรณีที่ถูกรบกวนเท่านั้น
แมลงสาบมีขา 3 คู่ ขาคู่หน้าเล็กกว่าขาคู่หลัง ขามีลักษณะเป็นขาสำหรับวิ่งจึงทำให้แมลงสาบวิ่งได้เร็วมาก มีหนวดยาวเรียวแบบเส้นด้าย 1 คู่ มีขนเล็ก ๆ จำนวนมากอยู่รอบ ๆ หนวด ปากมีลักษณะเป็นแบบกัดเคี้ยว สามารถกินอาหารได้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ แต่ส่วนมากชอบกินเศษอาหารประเภทแป้งหรือน้ำตาล ซากสัตว์หรือแมลงที่ตายแล้ว น้ำลาย เสมหะ อุจจาระ กระดาษหรือแม้แต่ผ้า เป็นต้น แมลงสาบมีนิสัย ชอบกินอาหารและถ่ายอุจจาระออกมาตลอดทางที่เดินผ่าน ชอบออกหากินเวลากลางคืนและมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แต่มีบางชนิดที่ออกหากินในเวลากลางวัน
ยุง
ประเทศไทยมีประมาณ 400 ชนิด ยุงบางชนิดแค่ก่อความรำคาญโดยการดูดกินเลือดคนและสัตว์เลี้ยงเป็นอาหารเท่านั้น แต่ก็ มียุงอีกหลายชนิดซึ่งนอกจากจะดูดกินเลือดเป็นอาหารแล้ว ยัง เป็นพาหะนำโรคร้ายแรงต่างๆ มาสู่คนและสัตว์อีกด้วย ซึ่ง นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่งการที่จะควบคุมยุงให้ได้ผลดีนั้นจะต้องเรียนรู้ ยุงให้ดีเสียก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีววิทยา ของยุงซึ่งรวมทั้งวงจรชีวิต อุปนิสัยของยุง ถิ่นที่อยู่ และ แหล่งเพาะพันธุ์
วงจรชีวิติของยุง จะมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะเป็นไข่ (egg stage) ระยะตัวอ่อน (larva stage) ระยะเป็นดักแด้(pupa stage)และระยะตัวเต็มวัย (adult stage) ซึ่งยุงจะมีวงจรชีวิต 9-14 วัน ตัวเมียอายุประมาณ 1-3 เดือน ตัวผู้อายุประมาณ 6-7 วัน ยุงแต่ละตัววางไข่ได้ 3-4 ครั้ง จำนวน 50-300 ฟองต่อครั้ง ยุงตัวเมียเมื่ออายุได้ 2-3 วันจึงเริ่มออกหากินเลือดคนหรือสัตว์ เพื่อนำเอาโปรตีนและแร่ธาตุไปใช้สำหรับการเจริญเติบโตของรังไข่ ส่วนยุงตัวผู้จะดูดน้ำหวานเพื่อดำรงชีวิต หลังจากดูดเลือดเมื่อไข่สุกเต็มที่ ยุงตัวเมียจะหาแหล่งน้ำที่เหมาะสมในการวางไข่ หลังจากวางไข่แล้วยุงตัวเมียก็ออกดูดเลือดใหม่และวางไข่ได้อีก
แมลงวัน
แมลงวัน เป็นแมลงที่อาศัยอยู่กับชุมชนมนุษย์ชนิดหนึ่ง ส่วนมากคนจะรู้จักบางชนิด เช่น แมลงวันบ้าน และแมลงวันหัวเขียว มักจะกินอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์และเศษอาหาร ตามกองขยะ และชอบหากินเวลากลางวัน ไม่ชอบแสงแดดจัด รัศมีการหากินอยู่ในวงประมาณ 3 กิโลเมตร แมลงวันกินอาหารที่เป็นของเหลวได้เท่านั้น ส่วนปากของแมลงวันมีการเปลี่ยนรูปอย่างหลากหลายตามอาหารของพวกมัน เช่น ปากเจาะดูดของยุง และปากแบบซับดูดของแมลงวันบ้าน แมลงวันบ้าน (house fly) เพศเมียตลอดอายุขัยวางไข่ประมาณ 500 ฟอง บนอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อย ซากเน่า กองขยะ และอุจจาระ วางไข่เป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 75-120 ฟอง วางไข่ 5-6 ครั้ง ตลอดอายุขัย วงจรชีวิตจากระยะไข่ถึงตัวเต็มวัยใช้เวลา 10-12 วัน เมื่อแมลงวันตอมอาหาร เรามีโอกาสที่จะได้รับเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งติดมาตามขา ปาก และลำตัวของแมลงวันบ้าน อย่างไรก็ดีปริมาณเชื้อโรคที่ติดมานั้น มักไม่มากพอที่จะทำให้เกิดโรค ยกเว้นโรคบิดที่เกิดจากเชื้อแบคที่เรีย Shigella เชื้อโรคส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาเพิ่มปริมาณในอาหารที่แมลงวันลงเกาะให้ถึงระดับมากพอที่จะทำให้เกิดโรคได้ ดังนั้นเราจึงควรกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ไม่กินอาหารที่ตั้งทิ้งไว้โดยไม่มีที่ปิดหรือฝาชีครอบ
มีการศึกษาวิจัย พบเชื้อโรคที่ติดมากับแมลงวันบ้าน 65 ชนิด ที่สามรถก่อให้เกิดโรคได้ เช่น โรคไข้รากสาด อหิวาตกโรค โรคบิด ท้องร่วง ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ วัณโรค โรคแอนแทร็กซ์ ตาอักเสบ พยาธิ โปลิโอ โรคเรื้อน โรคตับอักเสบชนิดเอและบี
จิ้งจก
“จิ้งจก” เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง พบได้ทั่วไปตามที่พักอาศัย ชอบอาศัยตามมุมบ้าน ตู้หรือฝ้าเพดาน และออกหากินแมลงในที่ที่มีแสงไฟ สำหรับชนิดที่พบบ่อยและแพร่หลายที่สุดในประเทศไทย คือ จิ้งจกบ้านหางแบนและจิ้งจกบ้านหางหนาม
มีลักษณะสี่เท้า ลำตัวขนาดเล็ก ค่อนข้างแบน หัวสั้น และมีหาง มีผิวหนังบางใสจนมองเห็นด้านใน มีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงเข้ม ลิ้นสั้นแต่สามารถยืดออกได้เหมือนกบ ผิวหนังละเอียด สามารถปรับตัวให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมได้ เท้าเหนียวช่วยในการไต่ไปตามเพดานหรือฝาผนัง
สามารถออกหาอาหารได้ทั้งในเวลากลางวัน และเวลากลางคืน แต่ส่วนมากจะออกหากินในเวลากลางคืน เนื่องจากมีแหล่งแสงไฟต่าง ๆ เพราะจะมีอาหารของมันมาก อาหารของจิ้งจกจะเป็นแมงและแมลงทุกชนิดทั้งที่มีขนาดใหญ่และขนาดเล็ก
วงจรชีวิตจิ้งจกนั้น จิ้งจกจะมีอายุประมาณ 5 – 10 ปี เป็นสัตว์ที่ผสมพันธุ์แบบไม่มีฤดู ขยายพันธุ์โดยการออกลูกเป็นไข่สีขาว ซึ่งตัวเมียจะออกไข่คราวละ 2 ฟอง ใช้เวลาในการฟักตัว 50 – 65 วัน และหางจิ้งจกสามารถงอกใหม่ได้ใน 2 – 6 สัปดาห์
มอดแป้ง
ตัวเต็มวัยเป็นมอดสีน้ำตาลแดง ขนาด 4 มม. ลำตัวแบ่งออกเป็น 3 ส่วนอย่างเห็นได้ชัด ตัวเมียจะวางไข่ปะปนอยู่ในอาหาร
มอดแป้งเป็นแมลงศัตรูผลิตผลเกษตรที่สำคัญมาก เพราะเป็นแมลงที่สามารถอยู่ได้ในอาหารหลายชนิดตั้งแต่แป้งจนถึงเมล็ดพืชและอาหารสำเร็จรูป
ตัวเมียวางไข่ในอาหาร ไข่ มีสีขาวครีม จะฟักเป็นตัวในระยะ 4-6 วัน หนอน มีสีครีมปนเหลือง ลำตัวเป็นปล้องๆ เห็นได้ชัด จากนั้นจะเข้าดักแด้และกลายเป็นตัวเต็มวัย เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมชีพจักรของมอดแป้งจะกินเวลาประมาณ 30 วัน
อาหาร : เมล็ดธัญพืชและผลิตภัณฑ์ แป้ง ถั่วลิสง เครื่องเทศ กาแฟ โกโก้
มอดยาสูบ
วงจรชีวิต : มอดยาสูบมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ คือ มีทั้งหมด 4 ระยะ ได้แก่ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อน ระยะดักแด้ ระยะตัวเต็มวัย โดยที่ระยะไข่ใช้เวลาประมาณ 4-7 วันก่อนฟักเป็นตัวอ่อน ระยะตัวอ่อนใช้เวลาประมาณ 21-28 วัน ระยะดักแด้ใช้เวลาประมาณ 5-8 วัน ก่อนจะออกจากดักแด้เป็นตัวเต็มวัย วงจรชีวิตจากระยะไข่ถึงตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 30-40 วัน ตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 25 วัน
รูปร่างลักษณะ : ไข่รูปร่างรีค่อนข้างกลมสีขาว ตัวหนอนหัวกะโหลกแข็ง ที่อกมีขาจริง 3 คู่ ลำตัวโค้งงอเป็นรูปตัว C ตัวสีเหลือง มีขนอ่อนสีขาวปกคลุมอยู่ทั่วตัว ดักแด้ในช่วงแรกจะเป็นสีเหลืองพอใกล้จะออกจากดักแด้สีจะเข้มขึ้น โดยจะสร้างปลอกขึ้นเพื่อปกป้องดักแด้แล้วเข้าดักแด้ในปลอกนั้น ตัวเต็มวัยมีขนาดเล็ก ยาวประมาณ 2.5-3.0 มิลลิเมตร รูปไข่ หลังนูน สีน้ำตาล ส่วนหัวและอกปล้องแรกงองุ้ม และโค้งลงด้านล่าง ปีกเรียบมีขนสั้นๆ สีขาวขึ้นปกคลุมทั่วตัว หนวดเป็นแบบฟันเลื่อย ยาวประมาณครึ่งหนึ่งของลำตัว
ลักษณะการทำลาย // ตัวเต็มวัย เข้าทำลายโดยการกัดเจาะเข้าไปหรือมุดเข้าไปตามช่องหรือรอยแตกของภาชนะบรรจุ เช่น พลาสติก กระดาษ อลูมิเนียมฟอยล์ และกล่องที่ทำด้วยไม้ เพื่อเข้าไปวางไข่ เมื่อตัวหนอนฟักออกจากไข่ แล้วจึงเข้าไปกัดกินอาหารที่อยู่ภายในบรรจุภัณฑ์ ทำให้อาหารที่บรรจุอยู่ภายในถูกกัดกินเป็นรูพรุน ไปทั่ว โดยเราจะพบซากของปลอกดักแด้และซากของตัวเต็มวัยที่ตายแล้วอยู่ภายในถุงหรือบรรจุภัณฑ์ ถ้าเราเผลอกิน มอดยาสูบเข้าไป ท่านผู้รู้บอกว่าไม่ถึงตายแต่อาจเกิดอาการแพ้ได้
อาหาร: ใบยาสูบ เห็ดหอมแห้ง ธัญพืชต่างๆ อาหารจำพวกแป้ง กุ้งแห้ง เครื่องเทศ และอาหารสำเร็จรูป เช่น บะหมี่ เป็นต้น